27.2.52

Corporate Identity (Brandesign)


คือ การนำตัวตนขององค์กรผ่านงานออกแบบ โดยสื่อสารกับผู้บริโภคในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ที่แท้จริง คุณค่าภายในจิตใจ และบุคคลิคภาพในการดำเนินงาน ก็เพื่อความเข้าใจและยอมรับจากบุคคลทั่วไป สร้างเอกภาพ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท เกิดความชัดเจนในตลาด เมื่อบุคคลทั่วไปต้องการใช้บริการหรือสินค้าจะเป็นตัวเลือกที่อยู่ในใจลูกค้าเป็นอันดับแรกๆ


WHY DO?
1. องค์กรต้องการความชัดเจนในตลาดทั้งในความรู้สึกของลูกค้ากับผู้ลงทุน(ความเชื่อมั่นโดยรวม)
2. องค์กรเกิดใหม่ ต้องการวางแนวทางขององค์กรไปสู่อนาคต
3. องค์กรต้องการความทันสมัยเพื่อลบภาพความล้าสมัย จากการดำเนินงานที่แสนจะยาวนาน (ธุรกิจการเงินการธนาคารหรือ สินค้าแฟชั่น)

4. การขยายองค์กรหรือสาขา ต้องการสื่อถึงความเป็นเอกภาพ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนต้องรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันหมด เช่น 7-11 ทั่วโลกจะมี Corporate Identity เดียวกันทั้งหมด

5. การเลิกดำเนินงานธุรกิจบางส่วน การปรับโครงสร้าง หรือเปลี่ยนแปลงการบริหารงาน ที่ส่งผลถึงภาพรวมของบริษัท(บางครั้งเพื่อกำหนดทิศทางบริษัท)
6. ตลาดของธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น คู่แข่งเพิ่มขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของอุตสาหกรรมนั้นๆ (เป็นข้อได้เปรียบทางการทำธุรกิจ)
7. รายได้ลดลง สัดส่วนกำไรหรือส่วนแบ่งทางการตลาดที่ลดลง ต้องรีบปรับตัวอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีแก่ลูกค้า รวมถึงผู้ลงทุน และลูกค้าในอนาคตเพราะ ภาพลักษณ์ที่ดี เป็นส่วนสำคัญในการทำให้ลูกค้าจดจำในองค์กรและ ส่งผลในการเพิ่มยอดขาย เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่รอดในตลาดการแข่งขันได้ 8. เมื่อสินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักและจดจำได้มากกว่าบริษัท
9. เมื่อบริษัทลูกที่อยู่ภายใต้บริษัทแม่ที่มีชื่อเสียง ต้องการภาพลักษณ์ของตนให้ชัดเจน และประสบความสำเร็จเทียบเท่าบริษัทแม่
10. เกิดปัญหาในเรื่องการสรรหาบุคคลเพื่อมาทำงานในองค์กร หรือเกิดปัญหาภายในระหว่างฝ่ายต่างๆ หรือ ระหว่างฝ่ายกับบริษัท

ทั้งหมดเป็นเพียงตัวบงชี้บางประการในการปรับเปลี่ยน Corporate Identity (Brandesign) ครับ แต่การสร้าง CI ที่ดีนั้นจำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่าง นักออกแบบ ผู้บริหารบริษัท นักการตลาด ฯลฯ จึงจะทำให้เกิดเอกลักษณ์และเอกภาพของบริษัท ที่มีประสิทธภาพ สร้างพลังในการขับเคลื่อนได้ดีครับ

Case study
Project: Four wings Residence @ Srinakarin
Brandesign: Click Design Studio / Four wings Residence
Industry: Condominium

The problem
1. องค์กรไม่มีความเข้าใจ ความสำคัญในการสร้างเอกลักษณ์ ทำให้งานออกแบบรูปแบบต่างๆ ไม่สามารถแสดงออกมาในรูปแบบที่เป็นแนวทางเดียวกัน
2. ไม่สามารถความแตกต่างในตลาดคอนโดมิเนียมทั้งที่มีการนำรูปแบบบริการจากโรงแรมมาเป็นส่วนผสมในการนำเสนอ (การเป็นคอนโดมิเนียม 5 ดาว)

Keywords
1. วางแนวทางการออกแบบให้มีทิศทางเดียวกัน
2. สร้างความแตกต่างโดดเด่นในตลาด แสดงไลฟสไตล์ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ชันเจน


The Process
เป็นการทำงานร่วมกับทางโฟร์วิงส์ฯ อย่างใกล้ชิด สังเกตปัญหาพร้อมเก็บข้อมูล จัดการนำมาวิเคราะห์ร่วมกับสภาพตลาดจริง ที่สำคัญจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและวางแผน สร้าง Brand Values โดยเริ่มจากนำข้อมูลที่วิเคราะห์มาใช้ในการออกแบบ สร้างคาร์แรคเตอร์ใหม่ให้กับโฟร์วิงส์ ปรับรูปแบบการนำเสนอใหม่ทั้งหมดโดยมุ่งเน้นไปยังไลฟสไตล์กลุ่มเป้าหมาย (เราเลือกใช้สีของ CI ในการสื่อสาร) วางภาษาที่ใช้ กิจกรรม การบริการแบบโรงแรม รวมทั้งคิดโปรโมชั่นใหม่ร่วมกับฝ่ายขายและฝ่ายตลาด หากลยุทธ์กระตุ้นพฤติกรรมความสนใจ กำหนดรูปแบบการนำเสนอที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องภาพลักษณ์ใหม่ที่ได้วางไว้ (สะท้อนความเป็น โฟร์วิงส์ อย่างลงตัว)

Design

ปัญหาคือ ความไม่มีเอกลักษณ์ที่เป็นแนวทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น Logo, Brochure, A5 Handbill, Leaflet, Website & Exhibition Booth
จากปัญหาดังกล่าว ทาง Click จึงทำการปรับและวางแนวทางการออกแบบใหม่ทั้งหมด โดยอ้างอิงตาม Style การออกแบบ Website เดิมของทางโครงการฯ พร้อมทั้งค่อยๆ ปรับ Item ต่างๆ เพื่อให้ได้ทิศทางเดียวกันทั้งหมด

The Results
เกิดประสิทธิภาพเป็นที่ต้องตาต้องใจผู้พบเห็น(ดูเท่ห์ๆหน่อย) ที่สำคัญคือสร้างความเข้าใจและยอมรับกับฐานลูกค้าใหม่ๆ เช่น ผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ (กลุ่มอายุน้อยลง) ตอบโจทย์พฤติกรรมและวีถีชีวิตได้อย่างชัดเจน

**การวัดผลเบื้องต้น โดยวัดจากยอดจองในงานมหกรรมบ้านและคอนโดที่เพิ่มประมาณ 2 เท่าจากเดิมเมื่อปีก่อนปรับภาพลักษณ์

4.2.52

Coke กับคำว่า Classic


ถ้าพูดถึงแบรนด์ในสงครามน้ำดำอันยิ่งใหญ่คงมี โค้ก กับ เป็ปซี่ เป็นเจ้าสนาม โดยทั้งคู่ต่างฝ่ายต่างใช้กลยุทธ์ฟาดฟันกัน ด้วยแคมเปญที่หน้าตื่นเต้นเป็นอย่างมาก แต่คราวนี้ โค้กงานเข้า เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นในตลาดของสหรัฐฯ เนื่องจากโค้ก ประกาศปรับแพ็กเกจ โดยนำคำว่า Classic ออกจากบรรจุภัณฑ์ของน้ำอัดลมสีดำสูตรดั้งเดิมของโค้กทั้งหมดภายในซัมเมอร์นี้ ซึ่งถือเป็นการปิดตำนาน Coke Classic ที่มีอายุถึง 24 ปีลง พร้อมเปิดตัวแคมเปญใหม่ "Open Happiness" การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพื่อปรับลุกให้ดูทันสมัยขึ้น แต่ใครเล่าจะไปคิดว่างานนี้ ไม่ Happiness ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งจริงๆแล้วทุกครั้งที่มีการปรับแบรนด์หรือรี-แบรนด์ก็ตาม โค้กมีการทำ Consumer Insight ตลอดมาเป็นการทดสอบว่าลูกค้ามีความชื่นชอบในแคมเปญใหม่หรือไม่ แต่ครั้งนี้ โค้กกลับลืมสอบถามลูกค้า ถึงความรู้สึกว่าพวกเขาว่าจะไม่ได้เห็นคำว่า "Classic" ปรากฎบนกระป๋อง หรือบรรจุภัณฑ์ใดๆอีก ซึ่งหลังจากปราศจากคำว่า Classic โค้กถูกลูกค้าโทรมาต่อว่าทางสายด่วนเป็นจำนวนมาก ถึง 1,500 สายต่อวัน ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์เก่าก็ถูกกว้านซื้อ พร้อมกันนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่ม Old Coca Cola Drinkers of America เป็นศูนย์กลางการจัดประท้วงรณรงค์คว่ำบาตร โค้ก อีกตังหาก โค้กจึงต้องแก้เกมโดยการแจ้งข่าวว่าบริษัทจะกับมาผลิตน้ำอัดลมสูตรดั้งเดิมอีกครั้ง ภายในแพ็กเกจใหม่ที่มีคำว่า Classic ใต้คำว่า Coca-Cola ซึ่งทันทีที่ออกจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ Coke Classic มียอดขายแซงหน้าโค้ก สูตรใหม่เสียอีก ทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นทันที และนี้ถือเป็นประสบการณ์ที่ต้องจดจำ ว่าไม่ควรขาดความเข้าใจในความรู้สึกของลูกค้าทั้งทีเป็นรายละเอียดเล็กๆก็ตาม


Credit by New York Times