14.12.52


Creative Economy(เศรษฐกิจสร้างสรรค์)

ได้กลับมาเขียนอีกครั้งก็ท้ายปีพอดีหลังจากห่างหายไปนาน กับการเผชิญวิกฤติจนสมองแถบปริ แต่มีข่าวดีที่หลายๆคนพูดถึงให้ชื่นใจกับ โครงการภาครัฐกับ Creative Economy การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งผมเห็นดีด้วย เพราะเห็นจากวิกฤติที่ถาโถมไปทั่วโลกในขณะนี้ กับการแข่งขันโดยการเพิ่มผลผลิตจาก เครื่องจักร ทุน ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้มาถึงจุดที่ ใครๆ ก็สามารถผลิตสินค้าให้มีคุณภาพที่ดีเท่าเทียมกันในจำนวนมากและราคาที่ต่ำไม่ได้คำนึงถึงความซับซ้อนในความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลกระทบกับผู้ผลิตเอง ไม่ว่าจะทำให้ขายสินค้าได้น้อยลง ผู้บริโภคไม่มีความต้องการสินค้าในรูปแบบเดิมๆ การต่อรองคุณภาพสินค้าหรือเปรียบเทียบเรื่องราคา เป็นปัญหาของผู้ผลิตทั้วโลกที่เห็นได้ในปัจจุบัน

การมาของโครงการ Creative Economy เป็นรูปแบบกลไกต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่ในอนาคตเงินทุนและเทคโนโลยี ไม่ได้เป็นปัจจัยขาดแคลนอีกต่อไป แต่เป็นกระบวนการสร้างมูลค่าต่างหากที่จะทำให้คนอื่นมามองสินค้าและบริการของแบรนด์หรือประเทศว่ามีความคิดสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ยิ่งเมื่อคนซื้อมองอย่างนั้น ราคาก็จะมีความสำคัญรองลงมา ในการสร้างสรรค์สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การปฎิสัมพันธ์ในการสื่อสารมูลค่าระหว่างสินค้า บริการ กับตัวผู้ซื้อ ให้มีความเชื่อ สร้างคุณค่าต่อความคาดหวังของเขาให้ได้ และด้วยการสื่อสารที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งส่งผลให้ผู้ซื้อมีช่องทางในการมองหาสิ่งใหม่ที่ก้าวล้ำไปจากการใช้งานปกติทั้งในด้านของความสวยงามและการตอบสนองความต้องการสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะมากขึ้น จากตรงนี้ผมกลับมาคิด ประเทศเราสร้างสรรค์ได้อย่างนั่นจริงเหรอ ลองมองไปรอบๆตัว กระแสเกาหลี ญึ่ปุ่น อังกฤษเอย มีผลต่อคนไทยมาก แต่ตัวเราเองล่ะ

ผมได้มีโอกาสร่วมสนทนากับหลายๆท่าน หลายคนบอกว่าเมืองไทยเรายังมี “นักคิด (Thinker) ที่ดี แต่ยังขาดการสนับสนุน แต่จากนี้ละ นโยบายที่ถูกกำหนดด้วยรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็น โครงการ Creative City, OKMD Creative Awards, หลักสูตรผู้บริหารด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Executive), สร้างสรรค์สัญจร (Creative Mobile), Website Creative Economy กิจกรรมเหล่านี้จะเป็นตัวสร้างพื้นที่ได้จริงหรือไม่ จะสามารถกระตุ้นและส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้ความคิดสร้างสรรค์ และทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมมากแค่ไหนพวกเราท่านๆ ต้องติดตามกันต่อไป....สุขสันต์ปีใหม่ครับ

9.8.52

adidas: impossible is nothing ประโยคเด็ด ประโยคนี้

adidas impossible is nothing ประโยคเด็ด ประโยคนี้ ทุกคนคงเคยผ่านหูผ่านตามาบ้าง เป็น moto ของ แบรนด์ระดับโลกที่อยู่ในใจหลายคน เมื่อนึกถึงชุดกีฬาทีมดัง หรือ fashion sport ware ที่มีอายุอานามปาเข้าไป 60 ปีแล้ว ให้โอกาสทาง Click ได้ร่วมงานในส่วน Merchandise การทำงานกับ adidas นั่นเขาแบ่งแบรนด์ย่อยลงไปเป็นอีก 3 แบรนด์ โดย Click ทำสองส่วนคือของ performance กับ originals ยกเว้น style ที่เรายังไม่ได้ร่วมงานกัน แต่คาดว่าคงอีกไม่นาน(เราจะรอ) ในการทำงานร่วมกับทาง adidas นั้นมีรูปแบบการทำงานที่หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบมี CI Manual จากทางสำนักงานใหญ่ ส่วนมากมักจะเป็นแคมเปญใหญ่ๆ ยิ่งเฉพาะในส่วน แบรนด์ adidas original ที่มี character ที่ชัดเจนและเป็น fashion style ส่วน adidas performance นั้นเน้นความเป็นนักกีฬามืออาชีพมากกว่า การทำงานเลยให้ความสำคัญกับความนิยมการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ และยังมีการแลกเปลี่ยนรูปแบบ Merchandise ระหว่างประเทศที่เรียกว่า local to local อีกด้วย ยกตัวอย่าง ถ้าพี่ไทยเรานิยมฟุตบอล adidas เมืองไทยก็ได้รับมอบหมายให้ดูแล Merchandise เกี่ยวกับฟุตบอล พร้อมกับทำ manual ส่งไปให้ประเทศในเขตเดียวกัน แต่เค้าไม่นิยมฟุตบอลมากเท่าบ้านเราพร้อมกับรับเอา manual กีฬาประเภทอื่นที่ได้รับความนิยมในบ้านเค้ากลับมา ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนไอเดียกัน เราเลยเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามในเวลาเดียว แต่การทำงานจริง adidas เค้าก็ไม่ได้ฟิกว่าต้องเป๊ะๆ เรายังมีอิสระในการทำงานส่วน manual เป็นการ Guide line ให้เห็นภาพ และทำงานไปในทิศทางเดียวกัน เกิด Brand Identity ที่เหมาะสมกับความเป็นจริงของตลาดทั้งยังสร้างประสิทธิภาพในการเข้าถึงและจดจำแบรนด์
ช่วง wimbledon
campaign def jam

12.6.52

เบื้องหลังการทำงาน

เมื่อไม่นาน ผมและทีมงาน กับลูกค้า ได้สรุปงาน เรื่องการสร้าง Image ให้กับ Brand โดยลูกค้าต้องการตอกย้ำถึง Character ,Personality ให้สอดคล้องกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายของลูกค้าคาดหวังไว้ และเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับ Brand ซึ่งได้ข้อสรุปมาว่าต้องปรับเรื่อง Communication ให้ชัดเจนขึ้น โดยประเด็นแรกที่ทางลูกค้าอยากให้เริ่ม คือ ภาพ ภาพเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดได้ชัดเจนในตัวมันเอง สามารถนำไปใช้ในส่วนต่างๆ ได้ทันที ดังนั้นไปถ่ายภาพมา ผมและทีมจึงมีหน้าที่ไปคุมความเป็นไปของการถ่ายทำทั้งหมด เพื่อให้ตรงตาม Character ของ Brand ที่กำหนดไว้แล้ว (การออกกองครั้งนี้ ค่อนข้างมีปัญหาเฉพาะหน้าให้แก้เยอะมาก) ลองไปดูการทำงานของผมและทีมงานกันครับ
วุ่่นวายกับการเตรียมเดินทาง

บรรยากาศส่วนตัวและอบอุ่น

แอบถ่าย

สบายกว่านี้มีอีกไหมเนี่ย


สุมหัว

อ่าวนางแบบไปไหนอ่ะ
ส่องหามุมเด็ดๆ
คู่พระ-นางของเรา

แอบมอง
อยากกินอ่ะ ไม่เป็นอันทำงาน

เบื้องหลังการย้ายกอง
นางแบบเร่งเเต่งหน้าเดี๋ยวไม่ทันแดดนะ





ช่างภาพเริ่มเมื่อยเเล้วหรอ

24.4.52

Brand Space-Online Community

Brand Space-Online Community


จากเหตุจลาจลกลางเมืองช่วงสงกรานต์ที่ผ่าน ผมและคนไทยอีกหลายคน เฝ้าตามติดข้อมูลข่าวสารบ้านเมืองอย่างใจจดใจจ่อผ่านทางโลกออนไลน์ ซึ่งผมคิดมาตลอดเลย ว่าในยุคสมัย ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนได้รวดเร็ว อีกทั้งสร้างชุมชนย่อยทางความคิดขึ้นมากมาย  ถ้ามองอย่างเชื่อมโยงว่า พฤติกรรมต่างๆที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  นั้นก็มาจากการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลความคิดเห็นต่างๆจากโลกออนไลน์แห่งนี้  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเลือกซื้อสินค้า บริการ หรือแม้กระทั้งการตัดสินใจเรื่องใดๆ ก็ตาม ผู้คนนิยมหาข้อมูลสนับสนุนความคิดของตน สร้างความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ เพียงแต่เดิมนั้นเป็นแค่การสอบถามจากบุคคลสนิทรอบข้าง หรือรับรู้จากการโฆษณา แต่ปัจจุบันหันมาพึ่งพาข้อมูลจากโลกออนไลน์มากขึ้น  ขณะที่เจ้าของผลิตภัณฑ์บริการต่างๆ ก็ต้องปรับตัว สร้างภาพลักษณ์ที่ดีพร้อมทั้งปกปิดจุดบอดของตัวเองอย่างขมักเขม้น ในโลกออนไลน์ ใบใหญ่แห่งนี้ ยิ่งด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่การตัดสินใจมีความสำคัญมากในการดำเนินชีวิต ผู้คนไม่มีอารมณ์ใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ เป็นโจทย์ใหญ่  สำหรับฝั่งผู้ขายผู้ให้บริการ ต้องมาสร้างอารมณ์ในการใช้จ่ายสะตุ้งสตางค์กัน โดยแนวคิดนี้ดันไปตรงกับเรื่องการทำ Branding ที่เรียกว่า Brand Space ซึ่งเริ่มจากการสร้างกระแสของ brand ในโลกออนไลน์ก่อน หรือทางตลาดเรียกว่าจาก Niche Market ไปสู่ Mass Market  จนสามารถรวบรวมคนสร้างชุมชนย่อยในโลกออนไลน์ขึ้นอย่างเข็มแข็งมี Brand Charactor ที่ชัดเจน จนเ กิด Brand Identity จากนั้นหาพื้นที่หรือร้าน(ของแบรนด์สินค้านั้น)ตกแต่งเพื่อเตรียมจัด Meeting คนในชุมชนออนไลน์ พร้อมๆกับถ่ายทอดความเป็นแบรนด์นั้นๆ ออกมาจากสิ่งแวดล้อมทั้งหมด การให้ความสำคัญตรงจุดนี้ เป็นสร้าง Third Place หรือสถานที่ใหม่ ที่ผู้คนมองหา เพราะไม่มีความจำเจเหมือนบ้านหรือออฟฟิต เห็นได้จากร้านกาแฟ ร้านอาหาร แต่ผมเห็นชัดเจนที่สุดในการทำ Brand Space น่าจะเป็นที่  The Style by Toyota ที่สยามแสควร์ สถานที่สร้าง Identity ส่งภาพ Brand Toyota ให้มีความทันสมัย เป็นที่ผ่อนคลายและมีอะไรใหม่ๆ ได้สัมผัสหรือทดลอง แม้กระทั้ง ร้านผลิตภัณฑ์สวยงาม อาทิ Skin Food หรือ  ETUDE ก็ถือเป็นการทำ Brand Space ที่มีการดีไซน์ ออกแบบ ตกแต่ง ให้เกิดอารมณ์ผ่อนคลาย ไปสู่การจดจำแบรนด์ เหมือนเป็นการค้นพบตัวเองในที่แปลกใหม่ การนำเสนอในรูปแบบใหม่  โดยคนในชุมชนออนไลน์ เป็นตัวจุดประกาย ว่าเมื่อไปร่วมกิจกรรม ณ สถานที่ ที่มีการทำ Brand Space  แล้วเค้ารู้สึกดีถึงสภาพแวดล้อมการบริการจากกิจกรรมที่ได้ก็กลับมาบอกต่อกันใน ชุมชนออนไลน์ ซึ่งถือเป็น Virus Marketing ที่มีประสิทธิภาพสร้าง Image และรายได้ ใด้ดีในช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้  ส่วนที่ไม่ดีหรือเป็น Comment ด้านลบ  ก็ต้องพยายามควบคุมแก้ไขให้ดีขึ้นเพราะโลกออนไลน์มีความรวดเร็วในข่าวสารข้อมูลหากไปรีบปรับปรุง อาจเป็นผลร้ายกับ Brand ในระยะที่รวดเร็วและส่งผลกระทบในวงกว้างได้ สุดท้ายก่อนจาก ผมยกตัวอย่าง Brand ที่ประสบความสำเร็จ ในการ Brand Space-Online Community คือ  ETUDE และ Skin Food ซึ่งแต่ิ้เดิมยังไม่มีร้านในเมืองไทย แต่เป็นชุมชนออนไลน์ ที่พูดกันปากต่อปาก จนเป็นที่รุ้จักในวงกว้าง พอเริ่มสร้างแบรนด์ทำตลาดอย่างจริงจัง ไม่นานก็เป็นที่นิยม ซึ่งทั้งหมดเกิดจากการหาข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลในชุมชนออนไลน์นั้นเอง (Credit Picture by Toyota, Skinfood)

10.4.52

BIG Design Week 2009 @ Zen

BIG Design Week 2009 @ Zen

ในช่วงเดือนที่ผ่านมาออฟฟิตผมวุ่นวายมาก กับการทำงาน(ด่วนจี๋) ที่ต้องตอบโจทย์ทั้งระยะเวลาและเนื้องานตามที่ลูกค้าต้องการ ผมมองอย่างเข้าใจว่า สภาวะปัจจุบัน การคิดทำอะไรที่ต้องใช้เงินทุกคนค่อนข้างจะ  รัดเข็มขัด แผนที่วางไว้ก็มีการปรับเปลี่ยนตอดเวลา การทำงานโดนตัดทอน ไอเดีย และระยะเวลา โดยมีงบเป็นตัวกำหนด ซึ่งพวกผมก็พร้อมและยังคงตั้งใจทำงานออกมาอย่างเต็มที่ แม้เป็นช่วงเวลาการทำงานที่ค่อนข้างวุ่นวาย แต่การเรียนรู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผมและทีมงานยังคงจัดสรรเวลา พยายามพากันออกไปเปิดหูเปิดตาข้างนอก และอัพเดตสมองตัวเองอยู่บ้าง เพราะการทำงานของเราจะมานั่งโต๊ะอย่างเดียวคงไม่ได้ งานที่พวกเราไปเค้าจัดกันเป็นปีที่ 2 แล้วคืองาน BIG Design Week 2009 @ Zen(DEP เป็นผู้จัดและถือว่าครั้งนี้เป็นการยกระดับการจัดงานเลยทีเดียวเพราะปีที่แล้วจัดที่ กรมส่งเสริมฯ รัชดาโน้นแนะ) กิจกรรมที่เราไปร่วมมี 2 กิจกรรมด้วยกันคือ Brand Focus และ เสวนา Design as a Creative Business”                                                                                                                                    

กิจกรรมแรก Brand Focus ถ้าดูจาก Speaker แล้วชวนให้ไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ดลชัย, แดน ศรมณี, ศิริกุล เลากัยกุล, ณัทธร รักษ์ชนะ, จิรพรรณ กิตติศศิกุลธร ที่นำประสบการณ์ต่างๆ มาบอกเล่าให้ฟัง (อาจขายของบ้างนิดหน่อย^_^) โดยมีไอเดียใหม่ๆ จาก Case Studyมากมายพอดู ไม่ว่าจะเป็น Lotto Italyที่พยายามให้ประชาชชาวอิตาลีออกไซื้อล็อกเตอรี่ที่ยอดสะสมจากการที่ไม่ใครถูกเพราะไม่มีคนซื้อ แต่มียอดสะสมที่มีจำนวนเพิ่มมากขี้นเรื่อยๆ โดยใช้กลยุทธการแจกถุงขยะที่ออกแบบให้เป็นถุงใส่เงินมีโลโก้ $ อยู่ด้านข้าง ฝากกับคส่งหนังสือพิมพ์ไปแจกตามบ้าน ด้วยความเป็นถุงขยะฟรี ทุกคนก็นำมาใช้ พอนำถุงมาทิ้งไว้เพื่อรอรถขยะมาเก็บ อยู่หน้าบ้านทุกบ้าน ถุงขยะจำนวนมากก็จะกลายเป็นถุงเงิน(ถุงขยะนั้นแหละครับ)เรียงรายตามถนนเต็มไปหมด ไม่พอยังอัดโฆษณาตามเพื่อคลายปริศนาว่าตอนนี้ยอดเงินของ Lotto ที่สะสมมีจำนวนมากช่วยมาเอาไปหน่อย ซึ่งเป็นนำเรื่องราวมาเชื่อมโยงกับ Brand, Ambient กับการใช้งบประมาณที่สร้างสรรค์พร้อมกลยุทธ์ที่ impact อย่างมาก ทั้งหมดทั้งมวลนี้ยังไม่พอ ผมยังรู้สึกประทับใจกับเรื่อง Brand Experience ที่นำประสบการณ์การสร้าง Brand Sansiri มาถ่ายทอด เริ่มจากการประกาศตัวเป็นคู่แข่งตัวยงของ Land & House จน ณ วันนี้ผ่านมากว่า 6 ปีดูหมือน Sansiri จะทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้ แต่เท่าที่ฟังมาก็กำศึกหนักอยู่เหมือนกันกว่าจะมีวันนี้ ถ้าดูจากการเสวนา ณ ตอนนั้น คงเหมือนว่าเจ้าของ Brand กับ Brand Builder  จะมีความคิดขัดแย้งกันอยู่เยอะเหมือนกัน ซึ่งจริงๆ มันตรงกับการทำงานของผมที่ประสบพบเจออยู่บ่อยๆ เป็นการทำงานที่อาจมีความคิดไม่ตรงกันบ้าง แต่ถ้าเรายอมรับเหตุผลของกันและกันเพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับ Brand ผมว่าเป็นส่วนที่ดีมากที่จะทำให้งานออกมามีคุณภาพตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ ทั้งยังเป็นการมองแบบ 360 องศา บอกถึง ความจริงใจ ความเชื่อมั่น ที่กล้าพูดตรงๆ กล้าcomment ซึ่งกันและกัน รวมกันเป็นความเข้าใจ เชื่อใจ ช่วยในการทำงานร่วมกันในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำ ideas สามารถ implement ได้

 

ส่วนกิจกรรมที่ 2 “Design as a Creative Business” ว่าด้วยการ Forecast ตลาดงานดีไซน์จาก นายกสมาคมต่างๆที่เกี่ยวกับงานดีไซน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าตกแต่งบ้าน ของเล่น ของขวัญของชำรวย ร่วมถึงการให้ข้อมูล เทรนด์ต่างๆในอนาคต ที่จะใช้พัฒนาศักยภาพธุรกิจดีไซน์ของบ้านเรา หลังจากจบงานนี้ ผมและทีมงานก็ได้ข้อคิดต่างๆมากมายมาขบคิดกันต่อที่ออฟฟิตพร้อมกับก้มหน้าก้มตาทำงานกันต่อไป T-T สู้ๆ เพื่อเทศกาลสงกรานต์ที่มาถึง