24.4.52

Brand Space-Online Community

Brand Space-Online Community


จากเหตุจลาจลกลางเมืองช่วงสงกรานต์ที่ผ่าน ผมและคนไทยอีกหลายคน เฝ้าตามติดข้อมูลข่าวสารบ้านเมืองอย่างใจจดใจจ่อผ่านทางโลกออนไลน์ ซึ่งผมคิดมาตลอดเลย ว่าในยุคสมัย ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนได้รวดเร็ว อีกทั้งสร้างชุมชนย่อยทางความคิดขึ้นมากมาย  ถ้ามองอย่างเชื่อมโยงว่า พฤติกรรมต่างๆที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  นั้นก็มาจากการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลความคิดเห็นต่างๆจากโลกออนไลน์แห่งนี้  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเลือกซื้อสินค้า บริการ หรือแม้กระทั้งการตัดสินใจเรื่องใดๆ ก็ตาม ผู้คนนิยมหาข้อมูลสนับสนุนความคิดของตน สร้างความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ เพียงแต่เดิมนั้นเป็นแค่การสอบถามจากบุคคลสนิทรอบข้าง หรือรับรู้จากการโฆษณา แต่ปัจจุบันหันมาพึ่งพาข้อมูลจากโลกออนไลน์มากขึ้น  ขณะที่เจ้าของผลิตภัณฑ์บริการต่างๆ ก็ต้องปรับตัว สร้างภาพลักษณ์ที่ดีพร้อมทั้งปกปิดจุดบอดของตัวเองอย่างขมักเขม้น ในโลกออนไลน์ ใบใหญ่แห่งนี้ ยิ่งด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่การตัดสินใจมีความสำคัญมากในการดำเนินชีวิต ผู้คนไม่มีอารมณ์ใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ เป็นโจทย์ใหญ่  สำหรับฝั่งผู้ขายผู้ให้บริการ ต้องมาสร้างอารมณ์ในการใช้จ่ายสะตุ้งสตางค์กัน โดยแนวคิดนี้ดันไปตรงกับเรื่องการทำ Branding ที่เรียกว่า Brand Space ซึ่งเริ่มจากการสร้างกระแสของ brand ในโลกออนไลน์ก่อน หรือทางตลาดเรียกว่าจาก Niche Market ไปสู่ Mass Market  จนสามารถรวบรวมคนสร้างชุมชนย่อยในโลกออนไลน์ขึ้นอย่างเข็มแข็งมี Brand Charactor ที่ชัดเจน จนเ กิด Brand Identity จากนั้นหาพื้นที่หรือร้าน(ของแบรนด์สินค้านั้น)ตกแต่งเพื่อเตรียมจัด Meeting คนในชุมชนออนไลน์ พร้อมๆกับถ่ายทอดความเป็นแบรนด์นั้นๆ ออกมาจากสิ่งแวดล้อมทั้งหมด การให้ความสำคัญตรงจุดนี้ เป็นสร้าง Third Place หรือสถานที่ใหม่ ที่ผู้คนมองหา เพราะไม่มีความจำเจเหมือนบ้านหรือออฟฟิต เห็นได้จากร้านกาแฟ ร้านอาหาร แต่ผมเห็นชัดเจนที่สุดในการทำ Brand Space น่าจะเป็นที่  The Style by Toyota ที่สยามแสควร์ สถานที่สร้าง Identity ส่งภาพ Brand Toyota ให้มีความทันสมัย เป็นที่ผ่อนคลายและมีอะไรใหม่ๆ ได้สัมผัสหรือทดลอง แม้กระทั้ง ร้านผลิตภัณฑ์สวยงาม อาทิ Skin Food หรือ  ETUDE ก็ถือเป็นการทำ Brand Space ที่มีการดีไซน์ ออกแบบ ตกแต่ง ให้เกิดอารมณ์ผ่อนคลาย ไปสู่การจดจำแบรนด์ เหมือนเป็นการค้นพบตัวเองในที่แปลกใหม่ การนำเสนอในรูปแบบใหม่  โดยคนในชุมชนออนไลน์ เป็นตัวจุดประกาย ว่าเมื่อไปร่วมกิจกรรม ณ สถานที่ ที่มีการทำ Brand Space  แล้วเค้ารู้สึกดีถึงสภาพแวดล้อมการบริการจากกิจกรรมที่ได้ก็กลับมาบอกต่อกันใน ชุมชนออนไลน์ ซึ่งถือเป็น Virus Marketing ที่มีประสิทธิภาพสร้าง Image และรายได้ ใด้ดีในช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้  ส่วนที่ไม่ดีหรือเป็น Comment ด้านลบ  ก็ต้องพยายามควบคุมแก้ไขให้ดีขึ้นเพราะโลกออนไลน์มีความรวดเร็วในข่าวสารข้อมูลหากไปรีบปรับปรุง อาจเป็นผลร้ายกับ Brand ในระยะที่รวดเร็วและส่งผลกระทบในวงกว้างได้ สุดท้ายก่อนจาก ผมยกตัวอย่าง Brand ที่ประสบความสำเร็จ ในการ Brand Space-Online Community คือ  ETUDE และ Skin Food ซึ่งแต่ิ้เดิมยังไม่มีร้านในเมืองไทย แต่เป็นชุมชนออนไลน์ ที่พูดกันปากต่อปาก จนเป็นที่รุ้จักในวงกว้าง พอเริ่มสร้างแบรนด์ทำตลาดอย่างจริงจัง ไม่นานก็เป็นที่นิยม ซึ่งทั้งหมดเกิดจากการหาข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลในชุมชนออนไลน์นั้นเอง (Credit Picture by Toyota, Skinfood)